งานช่างประปา คือ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการวางท่อประปา การเชื่อมต่อท่อ และการไหลของน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำปรากฏว่า คนในชนบทใช้น้ำ 150 ลิตรต่อคนต่อวัน คนในเมืองใช้น้ำ 440 ลิตรต่อคนต่อวัน น้ำจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก ระบบการประปาได้แก่ การนำน้ำเข้ามาใช้ การระบายน้ำโสโครกภายในอาคารบ้านเรือนออกไป เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด ระบบประปาที่ดีมีประสิทธิภาพ จึงหมายถึงความสะดวกสบาย สุขภาพและพลานามัยของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นความรู้เรื่องระบบน้ำประปา ระบบการระบายน้ำโสโครก สุขภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการจัดระบบการประปา การซ่อมบำรุงรักษา จึงเป็นสิ่งจำเป็น สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง
เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได่แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง และนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงอีกมากมาย ดังเช่น1) จัดเตรียมพื้นที่การเดินท่อทั้งแนวนอน แนวดิ่ง รวมถึงระยะลาดเอียงต่าง ๆ
2) ติดตั้งฉนวนในระบบท่อที่จำเป็นเช่น ท่อน้ำเย็น เพื่อลดความเสียหายจากการรั่วซึม
3) ออกแบบระบบแขวน และรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการบำรุงรักษา
ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย
หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ
1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)
เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร
2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)
เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย
ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้
ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ
- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวย งามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ
เครื่องมืองานประปา
เครื่องมืองานประปามีหลายชนิดหลายประเภท แต่ที่มีความสำคัญและจำเป็นในงานช่างประปานั้น มีดังนี้
1. เครื่องมือวัดระยะและวางแบบ ที่นิยมใช้กันดังนี้
1.1 ตลับเมตร เป็นเหล็กสปริงแผ่นโค้ง สามารถดึงออกได้ยาวตามขนาดและม้วนเก็บอยู่ในตลับ มีขนาด 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร (ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 2 เมตร)
1.2 บรรทัดพับ มีลักษณะเป็นท่อนๆ สามารถพับเก็บได้ มีความยาวตั้งแต่ 2 – 8 ฟุต และสามารถพับได้ทุกๆ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการพกพา(ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 6 ฟุต)ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้แต่บางทีก็จะทำด้วยโลหะ
1.3 ฉากตาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความฉาก ความเที่ยงตรงในการเข้ามุมของแนวท่อ โดยใบฉากจะทำมุม 90 องศากับด้ามฉาก ใบฉากจะมีความยาวตั้งแต่ 6 - 12 นิ้ว
1.4 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบระดับทั้งในแนวดิ่งและแนวราบและความลาดเทของท่อ โดยทั่วไปจะเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวๆ อาจทำด้วยไม้หรืออะลูมิเนียม และมีหลอดแก้วอยู่ตรงกลาง ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลว จะมีฟองอากาศเป็นเครื่องชี้วัดความเที่ยงตรง ถ้าวางท่อได้ระดับฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1.5 ลูกดิ่ง เป็นเครื่องตรวจสอบความตรงในแนวดิ่ง ทำด้วยโลหะรูปทรงกรวยปลายแหลม และมีเชือกผูกอยู่ ลูกดิ่งมีหลายขนาด แต่ที่นิยมกัน คือ ขนาด 12 ออนซ์
1.6 ชอล์กเส้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายหรือแนวบนพื้นหรือผนังก่อนวางท่อ โดยจะมีเชือกจุ่มอยู่ในผลชอล์ก ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือน้ำเงิน เวลาใช้ก็ให้ดึงออกมาขึงตามแนวที่ต้องการแล้วดึงให้ตึง แล้วตีเส้นเชือกลงเป็นแนวสำหรับการวางท่อ เมื่อเลิกใช้ก็ให้ม้วนเชือกเก็บในตลับ ระวังอย่าให้ถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อนม้วนเก็บ
1.7 เหล็กขีด เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายลงบนท่อที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ดินสอขีดแทนก็ได้
2. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดที่เป็นหลัก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2.1 เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือสำหรับตัดท่อเหล็ก มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ใบเลื้อย ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ฟันของเลื่อยจะอยู่ระหว่าง 18 – 32 ฟัน/นิ้ว ความยาวใบเลื่อยที่นิยมใช้กันมีขนาด 8 – 12 นิ้ว ฟันหยาบใช้ตัดท่อหนาๆ ฟันละเอียดใช้ตัดท่อบาง โครงเลื่อยมีทั้งชนิดปรับได้และปรับไม่ได้ สามารถปรับแต่งใบเลื่อยให้ตึงและตรงได้โดยใช้น๊อคหางปลา
2.2 ประแจจับท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับจับหมุนท่อ ในกรณีที่ต้องการต่อท่อหรือถอดท่อออกจากข้อต่อ มีใช้กันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือขนาด 24 นิ้ว
2.3 เครื่องตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดท่อ เครื่องมือชนิดนี้ มีล้อตั้งแต่ 1 – 4 ล้อ เครื่องตัดท่อที่เหมาะกับงานทั่วๆไป จะมีขนาดของปากตั้งแต่ 1-4 นิ้ว สำหรับการตัดท่อเล็กๆ นั้น สามารถใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดได้เลย
2.4 เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเกลียวที่ปลายด้านนอกของท่อหรือข้อต่อมีทั้งแบบปรับแต่งขนาดได้และปรับแต่งขนาดไม่ได้ ที่นิยมกันมากที่สุด คือ ขนาด 1 – 2 หุน
2.5 ปากกาจับท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยืดท่อ ขณะตัดคว้าน หรือทำเกลียวท่อ มีทั้งแบบยึดติดกับโต๊ะและแบบมีขาตั้ง ขนาดที่นิยมใช้กันคือขนาดที่สามารถจับท่อได้ตั้งแต่ 1 หุน ถึง 3 นิ้ว
2.6 ดอกคว้านท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับคว้านปลายท่อด้านในเพื่อขจัดรอยที่เกิดจากการตัด มีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันคือ ชนิดกรอกแกรก มีขนาดตั้งแต่1 หุน ถึง 2 นิ้ว
3. เครื่องมือวางท่อประปาชนิดพลาสติก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1 เครื่องมือสำหรับตัดท่อ หากไม่ใช้เครื่องตัดท่อ อาจใช้เลื่อยตัดเหล็กแทนได้
3.2 ตะไบกลมและตะไบท้องปลิง ใช้สำหรับคว้านปลายด้านในของท่อเพื่อขจัดรอยเยิน
3.3 เครื่องบานปลายท่อ ใช้สำหรับบานปลายท่อ ในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบขันเกลียว
3.4 ประแจขันท่อ ใช้สำหรับขันท่อในกรณีที่ต้องการบานปลายท่อหรือขันข้อต่อ
การทำประปา
เนื่อง จากน้ำธรรมชาติมักมีสารต่างๆ เจือปนอยู่จึงทำให้น้ำสกปรกไม่เหมาะที่จะนำมาดื่มหรือใช้ได้ แต่เราสามารถกำจัดสารเจือปนดังกล่าวได้ โดยวิธีการทำให้น้ำตกตะกอน การกรองและอื่น ๆ ดังนั้นเราจึงนำหลักการนี้มาใช้ในกระบวนการทำน้ำธรรมชาติให้สะอาดเพื่อเป็น น้ำใช้สำหรับประชาชนซึ่งเราเรียกว่า“น้ำประปา”
ใน กระบวนการทำน้ำประปา ก่อนอื่นต้องหาแหล่งน้ำซึ่งอาจจะเป็นอ่างเก็บน้ำหรือแม่น้ำบริเวณที่มีน้ำ ค่อนข้างสะอาด แล้วลำเลียงส่งผ่านท่อส่งน้ำหรือคลองส่งน้ำ ขณะที่น้ำไหลผ่านตามคลองส่งน้ำ แสงแดดและออกซิเจนจะทำลายเชื้อโรคบางชนิด ขณะเดียวกันสารเจือปนบางส่วนก็จะตกตะกอนไปบ้าง เมื่อลำเลียงน้ำไปถึงโรงผลิตน้ำประปา จะผ่านกระบวนการเป็นขั้นๆ ดังนี้
เริ่มจากสูบน้ำจากแหล่งน้ำจืด น้ำดิบจะถูกผ่านคลองไปยังโรงสูบน้ำดิบ… 1)แล้วสูบน้ำดิบเข้าสู่ถังตกตะกอน… 2)ขั้น นี้จะเติมปูนขาวเพื่อลดความเป็นกรดในน้ำ และใส่สารส้มเพื่อช่วยให้ตกตะกอนได้ดียิ่งขึ้น น้ำที่ผ่านการกวนสารส้มจะเริ่มมีความใสมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ต้องผ่านการกรองอีกครั้งหนึ่ง ที่ถังกรอง… 3)เพื่อให้น้ำใสมากขึ้น น้ำที่ผ่านมายังถังกรองนี้จะถูกกรองด้วยถ่านหิน แอนทราไซต์ และทราย เพื่อช่วยกรองและดูดสีหรือกลิ่นที่อาจเจือปนมากับน้ำ จากนั้นจึงใสคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค… 4)แล้วจึงส่งน้ำไปยังถังน้ำใส… 5)และส่งผ่านอุโมงค์ส่งน้ำ… 6)ไปยังโรงสูบจ่ายน้ำ… 7)เพื่อส่งน้ำประปาไปบริการประชาชนจนถึงบ้านเรือนต่อไป บางแห่งอาจไม่มีอุโมงค์ส่งน้ำ แต่จะมีถังส่งเก็บน้ำไว้ก่อนที่จะส่งไปบริการ
การ ประปาบางแห่งอาจมีความจำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งบาดาล เช่น ในหมู่บ้านหรือชุมชนเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำผิวดิน น้ำบาดาลเป็นน้ำที่ใสสะอาด เนื่องจากผ่านการกรองจากชั้นดิน และหินหลายชั้นโดยธรรมชาติ การทำน้ำประปาดังกล่าว เมื่อสูบน้ำบาดาลขึ้นมาแล้ว อาจไม่ต้องผ่านกระบวนการทำให้ใสอีกก็ได้ และถ้าการตรวจวิเคราะห์พบว่า น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมานั้นมีความสะอาดพอก็ไม่จำเป็นต้องเติมคลอรีนเพื่อฆ่า เชื้อโรคอีก คงมีแต่การสูบขึ้นถังเพื่อให้น้ำมีแรงดันมากพอที่จะส่งไปบริการผู้ใช้ได้ไกล ๆ
จะ เห็นว่ากว่าจะเป็นน้ำประปา ซึ่งนำมาใช้ในบ้านเรือนได้จะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มาก มีการลงทุนสูง ดังนั้นน้ำประปาจึงเป็นสิ่งที่มีค่า และเพื่อการบริการน้ำประปาดำเนินไปได้ด้วยดี การประปาจึงเก็บค่าน้ำจากผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตาม อัตราค่าน้ำประปาก็แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของการใช้น้ำ
ใน การใช้น้ำประปานั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะใช้อย่างรู้คุณค่า ประหยัด และมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่ออนุรักษ์น้ำไว้ใช้ได้นาน ๆ นอกจากการเสียน้ำไปโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ต้องเสียค่าน้ำเพิ่มขึ้น
การดูแลรักษาเครืองมือช่าง ควรปฏิบัติดังนี้
1.ทำความสะอาดเครื่องมือหลังการใช้งานทุกครั้ง
12จัดเก็บเครื่องมือเข้าที่หรือเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
วิธีการใช้เครื่องมือช่างประปา มีหลักปฏิบัติดังนี้
1. ศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือก่อนนำไปใช้
2. ตรวจสอบาสภาพของเครื่องมือก่อนนำไปใช้งานถ้าพบว่าเครื่องมือชำรุด ควรนำไปซ่อมแซมก่อน
3. ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน